วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ค่าน้ำนม


หากจะมีการวัดระดับฐานะของเส้นทางสายเพชรรัตน์เส้นทางนี้ สามารถระบุได้ว่าอยู่ในฐานะของชนชั้นกลางระดับล่าง นั่นหมายความว่ามีฐานะความเป็นอยู่แบบยากจน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 จนถึง 2507 ไม่มีลูกคนไหนที่คาบช้อนเงินช้อนทองออกมา มีแต่เสียงร้องเรียกหาน้ำนมจากอกแม่ แต่ทุกคนเมื่อเริ่มจะอดนมแม่ก็จะมีโอกาสได้กินกล้วยน้ำว้าบดเหมือนกันทุกๆ คน ไม่เคยมีใครได้ลิ้มรสนมผงสำเร็จรูป หรืออาหารเสริมต่างๆ ไม่เคยมีใครสวมใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป ทุกคนมีส่วนในการได้สัมผัสกับผ้าอ้อมที่ทำมาจากผ้าถุงเก่าๆ ของแม่เหมือนกัน ทุกๆ คนไดนอนเปลที่ทำจากผ้าถุงของแม่ หรือผ้าขาวม้าของพ่อกันมาเหมือนๆ กัน และลูกทุกคนใช้ชีวิตอยู่เคียงข้างร่วมกันมากับแม่โดยตลอดไม่เคยแยกห่างจากกัน ตั้งแต่เกิดจนถึงเติบใหญ่ ร่ำเรียนจนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลาย จึงเริ่มเหินห่างกันออกไปเป็นครั้งคราว เพื่อประกอบอาชีพ

ความผูกพันกับแม่จึงเป็นสายใยที่แน่นหนาเกินกว่าที่จะมีใครมาเข้าใจ

ลูกชายทั้งสามคนของแม่ ได้ทดแทนพระคุณของค่่าน้ำนมด้วยการลาอุปสมบทกันถ้วนหน้า ให้พ่อแม่ได้ชื่นชมชายผ้าเหลือง เป็นการทำหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของคนไทยเชื้อสายพุทธอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีใครมาอ้อนวอนขอร้องให้บวชแต่ประการใด


นายสมพงษ์ ชักนำ คุณพ่อคงเดช พระวิมล คุณโยม และนางอุษา ชักนำ
ที่จังหวัดกาญจนบุรี


คุณพ่อคงเดช คุณแม่เยื้อ พ่อนาคชนินท์ คุณยายฟ้อน คุณอมรวรรณ กาญจนาวิศาล
ที่วัดหลวงปรีชากูล จังหวัดปราจีนบุรี


พระภิกษุชนินท์ ในพระอุโบสถ วัดหลวงปรีชากูล



นางสาวอุษา เพชรรัตน์ พระภักดี และ นางสาวจงรัก เพชรรัตน์
ที่วัดหลวงปรีชากูล จังหวัดปราจีนบุรี

ก็เป็นการบวชในขณะที่ คุณยายฟ้อน คุณพ่อคงเดชและคุณแม่เยื้อ ยังคงมีชีวิตอยู่ทั้ง 3 รายการ นับเป็นบุญกุศลที่ส่งให้ท่านผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้วได้ไปสู่สุขคติในสัมปรายภพ ด้วยความสงบ